โครงการจัดตั้งกองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เดิมเป็นหน่วยงานการเงิน
ที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2499 และมหาวิทยาลัย
มีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ดังนี้
          1. ในปี พ.ศ.2503 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม
          2. ในปี พ.ศ.2535 ยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
          3. ในปี พ.ศ.2547 ยกฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกชื่อเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
          โดยมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ งานการเงิน เป็นงานคลัง สังกัด กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
          การจัดตั้งโครงการจัดตั้งกองคลัง ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้รับความเห็นชอบจากสภามหา-
วิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ตามมติการประชุมพิจารณาจัดตั้งส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษาตาม
ประกาศหลักเกณฑ์การจัดตั้งส่วนราชการภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ โดยมติการนำเสนอเรื่อง
ของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 93 (4/2556) เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 ซึ่งมหาวิท-
ยาลัยได้พิจารณาให้รวมงานคลังและงานพัสดุเข้าด้วยกัน และออกประกาศการแบ่งส่วนราชการภายในของมหาวิทยา
ลัยราชภัฏพิบูลสงครามเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2557 มีฐานะเป็นกองคลัง โดยมีการแบ่งงานภายในกองเป็น 5 งาน
ดังนี้
         1. งานบริหารทั่วไป
         2. งานงบประมาณแผ่นดิน
         3. งานงบประมาณเงินรายได้
         4. งานบัญชี
         5. งานพัสดุ
          โดยมีภาระกิจเพื่อรองรับงานด้านการบริหารทรัพยากรงบประมาณการเงิน การบัญชี และการพัสดุ ที่เปลี่ยน
แปลงไปตามระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการดำเนินงาน ทั้งระบบการตัดยอดเงินงบประมาณ GFMIS ระบบ
การจัดซื้อจัดจ้าง e-GP รวมถึงการบริหารทรัพย์สินอื่นๆของมหาวิทยาลัยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ให้เป็นไปตามกฎ
หมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการและของมหาวิทยาลัยด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใส และ
ตรวจสอบได้ โดยเป็นการจัดระเบียบงานความรับผิดชอบของงาน และโครงสร้างการบริหารงานให้เหมาะสมกับการ
จัดตั้งองค์กรที่มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงยิ่งขึ้น และตอบสนองเป้าหมายการดำเนินงานทาง
ด้านการเงินภาครัฐ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ที่สอดคล้องกับ-
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559 และกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565)
ภายใต้หลักการดังนี้
          1. หลักผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงานตามภาระกิจของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการหลัก
เกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 (2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
          2. หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหาร
กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542